เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม



     “อีก 50 ปี น้ำจะท่วมกรุงเทพ” ป่ายชายเลนผืนสุดท้ายของกรุงเทพจะคงอยู่หรือจะจมหายคนในชุนชนที่นั่นและชาวกรุงเทพอีก 50 ปี ข้างหน้าจะเป็นไรคำตอบของอนาคต...อาจจะเป็นปล่อยไว้เป็นหน้าที่ของลูกหลานแต่ “เรา” ในฐานะพลเมืองของกรุงเทพ พลเมืองของประเทศไทยจะปล่อยให้ชาวบางขุนเทียนต้องเผชิญกับภัยทางธรรมชาติเพียงลำพังหรือ ไม่ว่าอนาคต พื้นที่บางขุนเทียน อาจจะถูกน้ำท่วม หรืออีก 50 ปี โรงเรียนอาจเหลือแต่ชื่อ แต่โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถม ที่อยู่ในพื้นที่ การแสดงความรับผิดชอบต่อวิถีธรรมชาติในปัจจุบันสำคัญยิ่งกว่า ครู นักเรียน ภารโรง อาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ จึงมิอาจ อยู่นิ่ง เพียรสอนวิชาการแต่เพียงอย่างเดียวจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกัน พลิกฝื้น พื้นที่กว่า 32 ไร่ของโรงเรียนสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ด้วยความมุ่งหวังให้ความรู้และกระบวนการคิด จิตสำนึกที่ดีๆ เพื่อสิ่งแวดล้อมจะได้รับการถ่ายทอดสู่เยาวชน ประชาชน เพื่อให้ทุกคนร่วมกันแสดงบทบาทพลเมืองของโลก ปกป้อง หวงแหน และดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะป่าชายเลนผืนสุดท้ายที่ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าปกป้องกรุงเทพมหานครอยู่ในขณะนี้

SVN Visit ครั้งที่ 3/2552 “กิจกรรมการดีดีที่ชาว SVN ร่วมกันคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับผืนป่าชายเลน”
     เช้าวันหยุดที่ 5 กันยายน เป็นวันหยุดที่พวกเราชาว SVN ตื่นเช้ากันเป็นพิเศษ เพราะเรามีนัดกันที่... บางขุนเทียนชายทะเล จุดหมายปลายทางอยู่ที่ โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ เขตบางขุนเทียนชายทะเล ที่เราพร้อมใจกันเข้าร่วมกิจกรรม ที่ SVN Visit ครั้งที่ 3/2552 ที่จัดขึ้น เพื่อช่วยกันสร้างรั้วธรรมชาติให้กับป่าชายเลนด้วยการปลุกไม้โกงกาง 200 ต้นและสนุกกับกิจกรรมดีดีตลอดวัน เราได้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง โดยครูใหญ่กริชพล กลิ่นหอม ที่บุกเบิกและอยู่ที่นี่มาถึง 4 ปี ครูใหญ่เล่าประวัติโรงเรียน ที่อยู่กันแบบพอเพียงและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรียกได้ว่า “ไม่มีเงิน ก็ไม่อดตาย” เพราะที่นี่เลี้ยงปลา กบ (ที่หน้าเหมือนเคโระม๊ากมาก) พร้อมกับปลูกไม้ผล สมุนไพรต่างๆ ที่สามารถนำใช้กินได้ ครูเล่าอย่างภาคภูมิใจว่าที่นี่ต้อนรับแขกที่มาเยือนถึง 30,000 กว่าคนแล้วมีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แทบจะครบ 7 วัน แต่ครูก็ไม่เหนื่อยหรือย่อท้อที่พัฒนาที่นี่และทำให้ที่นี่กลายเป็นห้องสมุดธรรมชาติแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้มาเยือน
     ช่วงสายของวัน ดร.จิระพล สินธุนาวา จากม.มหิดล เล่าถึงวิกฤติการณ์โลกร้อนที่ไม่ใช้เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป ก๊าซมีเทรนที่เกิดจากการย่อยสลายของสัตว์ในฟาร์ม หรือถุงขยะที่ถูกมัดแน่น ลอยขึ้นไปทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ เนื่องจากำแพงถูกทำลาย ทำให้ความร้อนส่งมาถึงโลกมากขึ้น น้ำแข็งชั้วโลกทั้งเหนือและใต้ละลายลง มีผลทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นมาก ในต่างประเทศตระหนักถึงเรื่องนี้อย่างจริงจังถึงกับมีคอร์ส survival สอนให้ทำถุงยังชีพ และตื่นตัวพร้อมรับมือกับวิกฤตการณ์ของภัยธรรมชาติที่อาจมาโดยไม่รู้ตัว แล้วเมืองไทยล่ะ..ตื่นหรืองยัง
     คุณสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง ประธานเครือข่าย SVN มอบรางวัลขอบคุณวิทยากรทั้งสองท่าน และนำทีมลงเรือดูวิถีชีวิตของชาวบ้านรอบๆ ป่าชายเลยโดยมีครูเกรียงศักดิ์ บรรยายตลอดทาง ดูไม้โกงกางที่ปลูกเพื่อช่วยยึดไม่ให้ตลิ่งพังและยังเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์ทะเลที่เข้ามาวางไข่ รวมทั้งปูนานาชนิด ปลาตีนาที่โผล่มาให้ยลโฉมเป็นระยะสร้างความตื่นเต้นกับน้องๆ เป็นอย่างมาก มีการทำฟาร์มหอยนางรม หอยแครง หอยแมลงภู่ ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจและอาหารของคนาที่นี่ตลอดการนั่งเรือจะมีชาวบ้านโบกมือและยิ้มทัก ทำให้เราลืมความหนื่อยล้าไปเลย นั่งเรือผ่านป่าโกงกางมาถึงป่าแสนที่บอกให้เรารู้ว่าเข้าเขตน้ำเค็มแล้ว เรามีโอกาสนั่งเรือชมปากอ่าว ก่อนทางแยกออกสู่ทะเล ชมหลักกิโลที่ 28 ของกรุงเทพที่ก่อนเคยสร้างอยู่บนพื้นดินแต่....ตอนนี้ โผล่พ้นน้ำให้เราได้เห็นแค่กลางต้น พวกเรารีบกดซัตเตอร์กันใหญ่ เพราะทุกคนไม่อาจรู้ได้ว่าภาพนี้จะเหลือไว้ให้เราเห็นแค่ความทรงจำบนกระดาษอัดรูปหรือไม่ พวกเราขึ้นจากเรือด้วยควมชื่อมื่น รับประทานอาหารที่ดุมสมบูรณ์ด้วยกุ้งที่เลี้ยงแบบธรามชาติ แขงที่นี่กินได้ทุกอย่างแบบปลอดภัยและอร่อยด้วย
     ช่วงบ่าย เข้าฐานกิจกรรม “ย้อมผ้าด้วยสีจากเปลือกของต้นตะบูน” เราสนุกกับการมัดย้อมด้วยฝีมือตัวเอง ที่มีการทำเหมือนผ้าบาติกแต่สีของเปลือกตะบูนจะให้สีน้ำตาลทองสวย มีการมัดย้อม ลวดลายไว้บนเสื้อและผ้าเช็ดหน้าที่เด็กนักเรียนบรรจงพับเป็นดอกกุหลาบไว้ให้พวกเราชมอีกด้วยช่วงรอให้สีของตะบูนซึมเข้าไปในผ้า 2-3 ชั่วโมงเราลงแรงกันอีกครั้งหิ้วต้นกล้าโกงกางกันคนละต้นสองต้นเดินไปตามสะพานไม้ทอดยาวสู่ป่า เราปลูกทั้งแบบแห้งและปลูกเปียก คือต้องลงไปในเลนที่มีน้ำจมไปประมาณครึ่งตัวปักกล้ากันแบบระมัดระวังให้เป็นแนวต่อจากของเดิม บางคนสนุกกับการงมหอยแครง ได้ลองเป็นชาวเลกันวันแหละ บ่นเสียดายที่วันนี้ต้นกล้าน้อยไปหน่อย
     ฐานต่อไปเป็นการทำไข่เค็ม ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านแถวนี้ วิธีการทำก็ง่าย เรามีภาพการทำมาฝากกันด้วย “ส่วนผสมก็หาเอาแถวนี้แหละ” คุณครูบอกส่วนผสมมีฝุ่นดินก็คือหน้าดินแถวทะเลที่มีแร่ธาตุนำมากรองให้ละเอียด น้ำทะเล น้ำมาคลุกเคล้ากัน นวดให้เนียน แล้วแผ่นหนาประมาณ 1 ซม. แล้วหุ้มไข่เป็ดให้รอบใบ เวลาทำต้องใจเย็นและเบามือ ถ้าไข่ร้าวหรือแตกจะทำให้ดินเข้าไปข้างใน ทำให้ไข่เน่า จากนั้นปั้นให้เนียน นำไปคลุกฝุ่นดินอีกครั้งเพื่อไม่ให้ติดมือหรือภาชนะที่จะใส่ทิ้งไว้ 20 วันนำมาล้างดินออกต้มกินเป็นไข่เค็ม ถ้าไข่ดาวทิ้งไว้ 15 วัน จึงนำมาทอด
     ปิดท้ายด้วยฐานทำขนมที่มีชื่อไพเราะว่า “นิรันดร” คือ “ขนมจาก” ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ไปถึงครูติดเตาถ่านไว้รอพวกเราแล้ว ที่เห็นวางเรียงกันก็คือส่วนผสมการทำ นำกะทิเทลงในน้ำตาลปึก ตามด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ และแป้งข้าวเหนียวขาว คนให้เข้ากันก่อนตามลงด้วยมะพร้าวหั่นยาวประมาณ 3 ซม. เผือกหั่นรูปเต๋า ส่วนผสมที่คลุกเคล้าจนเข้าที่แล้ว ตักประมาณ 1ช้อนยาว เกลี่ยงลงบนตรงกลางใบจาก หลังจากนั้นพับใบจากด้วยไม้กลัด ย่างบนเตาถ่านไฟปานกลางประมาณ 5 นาที กลิ่นหอมจนอดใจไม่ได้ที่จะหยิบขึ้นมาชิมก่อนเวลาอันควร      เหมือนฟ้าฝนจะเป็นใจให้เราทั้งวัน อากาศดีตลอดการทำกิจกรรม พอจบฝนกระหน่ำเทลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา พวกเราจึงได้โอกาสลาคุณครู กลับบ้าน สนุกและได้ความรู้กลับบ้านกันวันนี้ ตลอดทางกลับแวะช็อปอาหารทะเลราคาถูกฝากคนที่บ้านอีกด้วย